บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2019

บท 6 ความรู้เกี่ยวกับสุนัขพันธ์ อลาสกัน มาลามิวท์ (Alaskan Malamute)

รูปภาพ
  ลักษณะทั่วไป อลาสกัน มาลามิวท์ เป็นสุนัขพันธุ์เก่าแก่ที่สุดพันธุ์หนึ่งที่ใช้สำหรับลากเลื่อนในเขตอาร์คติก มีลักษณะ อกลึก กล้ามเนื้อแข็งแรงมาก เมื่อยืนตรงมีความสง่างามหัวเชิดสูง สายตาแสดงความตื่นตัว อยากรู้อยากเห็น และเป็นมิตร กระโลกศีรษะกว้าง หูตั้งเป็นรูปสามเหลียม กระบอกปากเรียวเล็กน้อย ไม่แหลม ไม่ยาว แต่ก็ไม่สั้น ขนชั้นนอกหยาบหนา ขนชั้นในอ่อนนุ่ม มาลามิวท์มีหลายสี มาร์กกิ้งบนหน้ามีลักษณะเฉพาะ สีบนหัวลักษณะเหมือนสวมหมวก หน้าอาจสีขาวทั้หมดหรือลักษณะเหมือนสวมหน้ากากและ/หรือมีแถบสี หางเป็นพวงพอดีโค้งไปบนหลัง มีกระดูกใหญ่ ขาแข็งแรง เท้าเหยียบมั่นคง อกลึกไหล่มีพลัง มีลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสมกับการลากเลื่อน การวิ่งย่างก้าวได้มั่นคง สมดุล เหมือนไม่รู้จักเหนื่อย แต่ไม่เหมาะสมกับการลากเลื่อนเพื่อแข่งขันด้านความเร็ว แม้จะแข็งแรงอดทน   ความเป็นมา อลาสกัน มาลามิวท์ เป็นสุนัขลากเลื่อน (Sled) แถบอาร์ติกที่เก่าแก่ที่สุดพันธุ์หนึ่ง ได้ตั้งชื่อตามชาวเผ่าพื้นเมืองอินนุยท์ (Innuit) ที่มีชื่อว่า มาลามิว (Mahlamuts) ผู้ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่แถบชายฝั่งโค เซบู เซาด์ (Kot - zebue sound) ในทางตะวันตก

บทที่5วัฏจักร(วงจรชีวิต)การพัฒนาระบบการจัดการความรู้

รูปภาพ
บทที่5 วัฏจักร(วงจรชีวิต)การพัฒนาระบบการจัดการความรู้ •      Compare CSLC and KMSLC           :     เปรียบเทียบ CSLC และ KMSLC •      User’s vs. Expert’s Characteristics   :     คุณลักษณะของผู้ใช้เทียบกับผู้เชี่ยวชาญ •      Stages of KMSLC                               :     ขั้นตอนของ KMSLC •      Layers of KM Architecture               :     ชั้นของ KM สถาปัตยกรรม Key Differences             •                   Systems analysts deal with information from the user; knowledge developers deal with knowledge from domain experts     นักวิเคราะห์ระบบสร้างสารสนเทศขึ้นมาจากผู้ใช้งาน ; นักพัฒนาความรู้จะกระทำจากความรู้จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดเมน •                   Users know the problem but not the solution; domain experts know both the problem and the solution ผู้ใช้รู้ปัญหา แต่ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา แต่ถ้าเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านโดเมนจะรู้ทั้งปัญหาและวิธีแก้ไขด้วย Key Differences   ความแตกต่างที่สำคัญ •                   Conventional SLC is primarily sequential; KM SLC is incre

บทที่4 องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization-Lo)

องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)หมายถึง องค์กรที่มีการจัดการความรู้ในการปรับเปลี่ยน และค้นหาวิธีใหม่ๆในการผลิตผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์กร โดยแบ่งองค์ประกอบของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้ 1.             การปรับเปลี่ยนองค์กร (Organization Transformation) หมายถึง สถานที่และลักษณะทางกายภาพซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ วัฒนธรรม กลยุทธ์ และโครงสร้างขององค์กร 2.             การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หมายถึง กระบวนการที่เป็นระบบในการสร้าง รวบรวม แลกเปลี่ยน ใช้ความรู้/แนวทางปฏิบัติที่ดีในการทำงานเพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร และมีการจัดเก็บเป็นคลังความรู้ขององค์กรต่อไป 3.             เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Technology) หมายถึง ระบบการเรียนรู้และสนับสนุนการทำงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4.             การให้อำนาจแก่บุคคล (People Empowerment) หมายถึง การให้อำนาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการปฏิบัติการแก่บุคลากร 5.             พลวัตการเรียนรู้ (Learning

บทที่3 กระบวนการจัดการความรู้

รูปภาพ
ภาพจาก Web Site https://www.ftpi.or.th/services/consult/ด้านการจัดการความรู้-knowledge-manageme/ ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 1-3-62 การจัดการความรู้ หรือเคเอ็ม (KM = Knowledge Management) คือ        การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และ พัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ        1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม        2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม  

บทที่2 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้

รูปภาพ
ความหมายของการจัดการความรู้           การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่ช่วยรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์และกำหนดประเด็น รวมไปถึง การเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อการพัฒนา และความเจริญก้าวหน้าขององค์กร จุดมุงหมายของการจัดการความรู้           เป้าหมายหลักของการจัดการความรู้ คือ การใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ที่ได้มีการรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์และกำหนดประเด็น รวมไปถึงการเผยแพร่องค์ความรู้ เพื่อ ประสิทธิภาพและความเจริญก้าวหน้าขององค์กร โดยผ่านการสนับสนุนจากเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อใช้เก็บรวบรวมและเผยแพร่ วัตถุประสงค์โดยทั่วไป ของการจัดการความรู้ มีดังต่อไปนี้           1. เพื่อให้องค์กรตระหนักและเห็นความสำคัญของความรู้ที่มีอยู่ในตัวของแต่ละบุคคล และในองค์กรโดยนำความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งในแง่ของการทำงานและวิถีการดำเนินชีวิต          2. มีการนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ เช่น การเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน การนำระบบอินทราเน็ตมาใช้ในการติดต่อ